วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บัตร prompt pay (พร้อมเพย์) มีข้อดี/ข้อเสียอะไรบ้าง

ข้อดี

1.รับง่าย จะมีสักกี่คนที่จำเลขที่บัญชีธนาคารของตัวเองได้ ยิ่งมีหลายบัญชี ยิ่งยากแก่การจดจำ ต่อจากนี้ไป เพียงแค่คอนเฟิร์มว่า เราใช้เลขบัตรประชาชนของเรา หรือหมายเลขโทรศัพท์เบอร์ใดของเรา เป็น  พร้อมเพย์ - Krungsri PromptPay สำหรับการโอน เพื่อนก็โอนเงินให้ได้ทันที

2.โอนง่าย เพียงเช็คกับปลายทางว่าได้ผูกเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์มือถือกับบัญชีแล้วหรือยัง ไม่ว่าจะโอนเงินให้พ่อ ให้แม่ ให้ภรรยา หรือให้เพื่อน เราก็ไม่ต้องปวดหัวกับการจดจำเลขที่บัญชีของพวกเขาอีกต่อไป

3.จ่ายสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการชำระสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ ด้วยการโอนเงินเข้า พร้อมเพย์ - PromptPay ของร้านค้า หรือการชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เราก็สามารถโอนเงินในบัญชีผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที ไม่ต้องฝากเคาน์เตอร์ไปจ่ายให้แล้ว

4.สะดวก รวดเร็วในการรับบริการของรัฐ ด้วยการใช้เลขที่บัตรประชาชนเป็น พร้อมเพย์ PromptPay ไม่ว่าจะเป็นการชำระภาษี หรือการรับเงินภาษีคืน ด้วย พร้อมเพย์ PromptPay กรมสรรพากรสามารถส่งเงินคืนภาษีตรงเข้าสู่บัญชีเรา ต่อไปนี้ รัฐบาลจะไม่ต้องมีการส่งเช็คให้กับเราอีกต่อไป เราก็ไม่ต้องเอาเช็คไปขึ้นที่ธนาคารแล้วครับ ทั้งสะดวก ทั้งรวดเร็ว แถมไม่ต้องเดินทางอีกด้วย

5.ลดค่าใช้จ่ายทั้งระบบ การใช้เงินสดมีค่าใช้จ่ายในทุกขั้นตอน ทั้งค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องใช้ไปกับการพิมพ์ธนบัตร ค่าดูแลคลัง ค่าขนส่งเงิน รวมถึงธนาคารที่มีค่าดูแลการเก็บเงินในตู้นิรภัย ค่าตู้ ATM และอีกสารพัด หากไลฟ์สไตล์ของทุกคนในประเทศเปลี่ยนไป โดยเน้นการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่าน พร้อมเพย์  PromptPay เป็นหลัก ความต้องการการใช้เงินสดจะลดลง ปริมาณการผลิตเงินก็จะลดลง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของทั้งระบบลดลง ทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคธนาคาร

6.ค่าธรรมเนียมถูกลง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลงในระบบการใช้เงินสด ทำให้ธนาคารสามารถลดค่าธรรมเนียมลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต และการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านการทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งจุดนี้เป็นประโยชน์กับทุก ๆ คนมาก ๆ

7. จัดเก็บ นำส่งข้อมูลภาษีไม่ยุ่งยาก พร้อมเพย์  PromptPay สามารถเชื่อมต่อเข้ากับภาคเอกชน ด้วยการทำให้การจัดส่งภาษีของร้านค้าสะดวกขึ้น ไม่ต้องมีการรวบรวมเอกสารเพื่อนำส่งข้อมูลในการเสียภาษี เนื่องจากการทำธุรกรรมล้วนอยู่ในระบบ การจัดเก็บ และนำส่งข้อมูลจึงทำได้โดยง่าย

8.ลดปัญหาอาชญากรรม ด้วยการก้าวสู่ Cashless Society หรือสังคมที่ไม่ใช้เงินสดนั่นเอง ลองคิดภาพง่าย ๆ ครับว่า เมื่อทุกคนสามารถทำทุกธุรกรรมการเงิน ทั้งการรับเงิน และใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าบนออนไลน์ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องพกพา หรือเก็บเงินสดอีกต่อไป ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้ส่วนหนึ่ง

9.เข้าถึง โปร่งใส ตรวจสอบได้ อีกหนึ่งการเชื่อมโยงจากภาครัฐ เมื่อทุกคนมีบัญชีเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนในเขตนอกเมือง เงินสวัสดิการจากภาครัฐ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยบำนาญ เงินช่วยเหลือเกษตรกรจะถูกส่งตรงเข้าสู่บัญชีผู้รับแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องผ่านคนกลาง ลดปัญหาการทุจริตในกระบวนการ ทำให้เงินช่วยเหลือไม่รั่วไหล และสามารถตรวจสอบได้


10.รัฐบาลสามารถจัดส่งความช่วยเหลือได้ตรงจุด เมื่อทุกรายรับ และรายจ่ายของแต่ละคนอยู่ในระบบ ทำให้รัฐบาลสามารถแยกแยะระดับรายได้ของแต่ละบุคคล เพื่อส่งความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น สวัสดิการสำหรับผู้มีรายได้น้อยก็จะถูกส่งไปถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ เท่านั้น ทำให้รัฐบาลประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้เงินพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ข้อเสีย

 
       1. Cashless Society ที่มีการออกกฎหมายบังคับให้การชำระเงินของภาคราชการและธุรกิจไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่รายย่อย ต้องทำผ่านธนาคารเท่านั้น เป็นการกินรวบการชำระเงินของประเทศ ขณะที่นานาประเทศเริ่มมีการพูดถึง Digital Currency แต่ของประเทศไทยทำผ่านระบบ ITMX (ระบบการจัดการแลกเปลี่ยนธุรกรรมระหว่างธนาคาร) ให้เข้ามาทำหน้าที่ตัวกลางเชื่อมระบบ/รับลงทะเบียนทำ ANY ID ถือว่าเป็นระบบที่เก่าแก่ล้าสมัยและต้องจำกัดให้ทำผ่านธนาคารเท่านั้น
       
       2. การที่จะมีการออกกฎหมายบังคับให้การชำระเงินต้องทำผ่านธนาคารเท่านั้น นับว่าเป็นการให้สัมปทานผูกขาดการชำระเงินของประเทศ ที่มีธนาคารเป็นเสือนอนกิน ผูกขาดค่าธรรมเนียมการชำระเงินของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งในแต่ละวันจะมีการทำธุรกรรมชำระเงินคิดเป็นมูลค่ามหาศาล
       
       3. ถ้ามีการประกาศยกเลิกการใช้เงินสด และให้คนไทยทุกคนต้องชำระเงินผ่านเครือข่ายของธนาคารเท่านั้น จะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพราะธนาคารจะมีข้อมูลเงินเดือน รายได้-รายจ่าย และพฤติกรรมการใช้เงินของคนไทยทั้งประเทศ 
“พร้อมเพย์” อันตรายกว่า Single Gateway ระบบการเงินล้มละลาย “รัฐบาล” พังได้!
        
        “เพราะทุกครั้งที่เงินเปลี่ยนมือ จะมีการบันทึกเข้าระบบชำระเงินของธนาคาร ซึ่งข้อมูลการชำระเงินหรือข้อมูลการเงินเหล่านี้ เมื่อนำไปผูกกับเลขที่บัตรประชาชนและเบอร์มือถือ จะทำให้สามารถสืบย้อนกลับไปในเรื่องส่วนตัวอื่นๆได้ ยกตัวอย่างเช่น อยากจะรู้ว่าคนไหนเคยเข้าโรงพยาบาลและเป็นโรคอะไร ก็แค่ค้นประวัติการชำระเงินให้โรงพยาบาล และค้นใบเสร็จค่ายา ก็จะรู้ว่าเป็นโรคอะไร และอยากจะรู้ว่าตอนนี้ใครอยู่ที่ไหน ก็ดูประวัติการชำระเงินครั้งล่าสุด ก็จะรู้ได้ว่าคนนี้อยู่ที่ไหน ซึ่งมีความน่ากลัวกว่า Single Gateway มาก”
       
       4. เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าธนาคารของประเทสไทยมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ดีพอ ควรจะมีการเปิดเผยข้อมูลธนาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO27001 และธนาคารที่ไม่ผ่านการรับรอง ISO27001 ซึ่งมาตรฐานนี้หมายถึง การมีระบบการรักษาความปลอดภัยไอที รวมทั้งมีจำนวนบุคลากรที่ได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยไอที ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ CISM, CISSP 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น